พฤกษา ผู้นำธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ของประเทศไทยให้ความสำคัญกับการก่อสร้างที่อยู่อาศัยที่เอื้อต่อการสร้างเสริมสุขภาวะที่ดีให้กับลูกบ้านด้วยนวัตกรรมด้านที่อยู่อาศัย ล่าสุดร่วมกับ ผศ.ดร.ธนาศรี สัมพันธารักษ์ เพ็ชรยิ้ม หัวหน้าภาควิชาภูมิสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สร้างสวนบำบัดกระตุ้นประสาทสัมผัสทั้ง 7 ส่งเสริมสุขภาพทั้งกายและใจที่ดี ในโครงการต้นแบบแห่งแรกที่ “เดอะปาล์ม” เพื่อผู้อยู่อาศัย ใช้ชีวิตอย่างสมดุล
ปิยะ ประยงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พฤกษา เรียลเอสเตท จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “รูปแบบการใช้ชีวิตผู้คนปัจจุบันมีกิจกรรมมากมาย ส่วนใหญ่แล้วอยู่ในตัวอาคารทำให้ใช้เวลาออกไปสัมผัสธรรมชาติภายนอกน้อยลง ยิ่งในช่วงที่มีสถานการณ์โรคระบาดซึ่งมีข้อจำกัดในการออกจากบ้าน ก็ยิ่งสะสมความเครียดและเหนื่อยล้าให้กับร่างกายและจิตใจ
ที่พฤกษาเราให้ความสำคัญกับการก่อสร้างที่อยู่อาศัยที่เอื้อต่อการสร้างเสริมสุขภาวะที่ดีให้กับลูกบ้านด้วยนวัตกรรมด้านที่อยู่อาศัย จะดีแค่ไหนถ้า เพียงแค่เดินจากบ้านไปไม่ไกลก็ได้สัมผัสกับพื้นที่ธรรมชาติที่จะช่วยฟื้นฟูร่างกายและจิตใจอย่างง่าย ๆ ได้ทุกวัน เพราะพื้นที่ส่วนกลางเป็นที่ที่ทุกคนสามารถมาใช้งานร่วมกันได้ พฤกษาจึงใส่ใจและให้ความสำคัญกับการออกแบบพื้นที่ส่วนนี้เพื่อให้ลูกบ้านใช้ทำกิจกรรมต่าง ๆ อย่างมีความสุข และวันนี้พฤกษาจึงก้าวไปอีกขั้นด้วยความร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญออกแบบจัดสวนในโครงการที่จะมาทำหน้าที่ช่วยบำบัดฟื้นฟูร่างกายและจิตใจของผู้ที่เข้าไปใช้งานได้อีกระดับหนึ่งด้วยสวนบำบัดกระตุ้นประสาทสัมผัสทั้ง 7 (7 Senses Therapeutic Garden) ในโครงการ “เดอะปาล์ม”
อังคณา ลิขิตจรรยากุล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่สายงานการตลาดองค์กรกลุ่ม บริษัท พฤกษา โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “วันนี้ที่พฤกษา….สวนไม่ได้เป็นแค่ความร่มรื่น แต่แฝงไว้ด้วยการสร้างเสริมให้ผู้อยู่อาศัย ได้ใช้ชีวิตอย่างมีความสมดุล การใช้ธรรมชาติบำบัด และการที่ประสาทสัมผัสทั้ง 7 ได้รับการกระตุ้น จะส่งผลต่อการส่งเสริมสุขภาพทั้งกายและใจที่ดี สำหรับสวนบำบัดที่โครงการเดอะปาล์ม ออกแบบโดยมีเป้าหมายให้ผู้ใช้งานได้สัมผัสกับธรรมชาติเพื่อกระตุ้นประสาทสัมผัสทั้ง 7 ที่ประกอบด้วย 1.การมองเห็น 2.การได้ยิน 3.การรับกลิ่น 4.การรับรส 5.การสัมผัส 6.การรับรู้การเคลื่อนไหวการทรงตัว และ 7. การรู้ระยะตำแหน่งท่าทางในพื้นที่ ความหลากหลายที่ผู้เข้าไปใช้งานจะได้สัมผัสไม่ว่าจะเป็นสีและกลิ่นของใบไม้และดอกไม้ที่แตกต่างกัน สัมผัสของก้อนหินหรือการได้เดินบนทางเดินกรวด จะช่วยกระตุ้นระบบประสาทสัมผัสเหล่านี้ เพราะจากงานวิจัยพบว่า เพียงแค่มนุษย์ได้มองพื้นที่สีเขียวก็ทำให้เกิดความรู้สึกดีขึ้นแล้ว และเมื่อประสาทสัมผัสได้รับการกระตุ้น ระบบสื่อประสาทต่างๆ ก็จะได้รับการกระตุ้นไปพร้อมกัน ทำให้ร่างกายของเราทำงานได้ดีขึ้นด้วย”
โครงการเดอะปาล์ม บางนา วงแหวน คือโครงการต้นแบบที่พฤกษาเลือกทำงานร่วมกับ ผศ.ดร.ธนาศรี สัมพันธารักษ์ เพ็ชรยิ้ม หัวหน้าภาควิชาภูมิสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบภูมิสถาปัตยกรรมเพื่อสุขภาวะ พัฒนาพื้นที่ส่วนกลางให้เป็นเซนซอรีการ์เดนหรือสวนบำบัดที่จะช่วยเสริมสร้างสุขภาวะให้กับผู้ใช้งาน
ดร.ธนาศรี เล่าเรื่องราวของสวนบำบัดว่า “เป็นส่วนหนึ่งของแนวคิดภูมิสถาปัตยกรรมเพื่อสุขภาวะที่จะใช้พื้นที่ที่มีความเป็นธรรมชาติสูงเพื่อให้ผู้ใช้งานได้รับการกระตุ้นและฟื้นฟูประสาทสัมผัสทั้ง 7 ชนิด รวมถึงเป็นพื้นที่ที่เอื้อให้คนเมืองที่ใช้ชีวิตอย่างโดดเดี่ยวได้พบปะผู้คน ได้เคลื่อนไหวร่างกายเพิ่มขึ้น และเป็นอีกหนึ่งในแนวคิดการดูแลสุขภาพที่กำลังได้รับความนิยม ในหลายประเทศใช้เป็นส่วนหนึ่งในการรักษาโรคเครียด อัลไซเมอร์ หรือโรคที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวทางร่างกายต่าง ๆ”
สวนบำบัดกระตุ้นประสาทสัมผัสทั้ง 7 หรือ 7 Senses Therapeutic Garden ที่โครงการเดอะปาล์ม ออกแบบโดยมีเป้าหมายให้ผู้ใช้งานได้สัมผัสกับธรรมชาติ ประกอบด้วย
1. การมองเห็น สีสันของพืชนานาชนิด ช่วยให้อารมณ์ดีขึ้น การออกมาพักสายตาในสวน หยุดการมองจอเป็นการช่วยถนอมสายตา และกระตุ้นการมองเห็น
2.การได้ยิน เสียงจากธรรมชาติ จากสายลม เสียงของนก แมลง หรือเสียงจาก PRUKSA Positive Playlist ด้วยเพลยลิสต์ “Growing Plants” ชุดเพลงที่ถูกออกแบบมาเพื่อความผ่อนคลาย คนฟังสุขใจ และต้นไม้ก็เติบโตอารมณ์ดี
(สามารถคลิกฟัง PRUKSA Positive Playlist ได้ที่ https://www.pruksa.com/inspiring-story/unlockyourfutureliving-music)
3. การรับรส เลือกสรรสมุนไพร และผลไม้ในสวน เช่น ส้มจี๊ด มีสรรพคุณหลากหลาย เช่น ต้านหวัด แก้ไอ ขับเสมหะ แก้เจ็บคอ แก้โรคภูมิแพ้ทางลำคอ มีวิตามินซีสูง สามารถช่วยบำรุงผิวพรรณ และโกฐจุฬา ก็ให้รสหวานชุ่มคอ แก้ไข้ ขับเสมหะ
4. การรับกลิ่น กลิ่นหอมของดอกไม้ที่ช่วยให้ผ่อนคลาย ยังมีกลิ่นดินและใบไม้ที่ให้กลิ่นต่างออกไป ทำให้เราได้กลิ่นหลากหลายกระตุ้น ความทรงจำและการทำงานของระบบสื่อประสาท
5. การสัมผัส Pruksa X ViMUT River Healing Stone สวนหินที่ออกแบบร่วมกับทีมโรงพยาบาลวิมุต เพื่อการเดินบนสวนหิน ช่วยให้ผ่อนคลายกับการนวดเท้า กดจุดให้รู้สึกสบาย ช่วยกระตุ้นระบบประสาททั้งการทรงตัวและการกะระยะหาง ไปจนถึงสัมผัสจากการจับใบไม้ การนั่งบนเก้าอี้ก้อนหิน การถอดรองเท้าเดินบนสนามหญ้า ก็ช่วยกระตุ้นระบบประสาทที่แตกต่างกัน
6. การทรงตัว Pruksa X ViMUT Edutainment Playground สนามเด็กเล่นที่ได้ถูกออกแบบมาร่วมกับทีมโรงพยาบาลวิมุต เพื่อฝึกพัฒนาการรวมไปถึงการฝึกกล้ามเนื้อมัดเล็กมัดใหญ่ ให้เด็กๆ เจริญเติบโตอย่างแข็งแรง
7. การรับรู้ การเคลื่อนไหว และกะระยะทิศทาง การที่เด็กๆ ได้ออกมาเดิน มาวิ่งเล่นในสวนที่มีพื้นที่แคบบ้างกว้างบ้าง มาลื่นไถล ช่วยฟื้นฟูทักษะการกะระยะทิศทาง และช่วยเสริมสร้างทักษะการควบคุมร่างกายได้อย่างดี
ดร.ธนาศรี กล่าวถึงการใช้งานสวนแห่งนี้เพิ่มเติมว่า “สวนบำบัดเป็นพื้นที่ที่ครอบครัวใช้เวลาทำกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกันได้ ขณะเดียวกันก็แต่ละบ้านก็สามารถนำแนวคิดนี้ไปใช้ทำสวนในพื้นที่ของตนเองได้เองโดยเลือกปลูกต้นไม้และจัดวางตามที่ต้องการ การทำกิจกรรมนี้จะช่วยกระตุ้นประสาทสัมผัสต่าง ๆ ตั้งแต่ขั้นตอนการเตรียมการปลูกไปจนต้นไม้นั้นเติบโต หรือจะไปร่วมกิจกรรมที่พฤกษาจัดขึ้นเช่น กิจกรรมให้ลูกบ้านมาร่วมปลูกและเพนต์กระถางต้นไม้นำไปปลูกที่ระเบียงคอนโดหรือที่บ้านก็เป็นกิจกรรมง่าย ๆ ที่นำตัวเราเข้าใกล้ธรรมชาติ ช่วยสร้างสุขภาพกายและใจที่ดี สะสมพลังบวกให้กับคนทุกเพศทุกวัยในครอบครัว ตอกย้ำความเชื่อมั่นของพฤกษาที่ว่า สุขภาพดีส่งเสริมคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นได้ และทั้งสองสิ่งคือเรื่องเดียวกัน สามารถเริ่มต้นได้พร้อมกันที่บ้าน”
Comments are closed.