ART EYE VIEW—เนื่องในโอกาส 150 ปี วันประสูติ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ “นายช่างใหญ่แห่งกรุงสยาม”
“วันนริศ” ปีนี้ มหาวิทยาลัยศิลปากร จึงมีนิทรรศการและกิจกรรมให้ผู้สนใจเข้าร่วมหลายรายการ ได้แก่
>> นิทรรศการผลงานวาดเส้นฝีพระหัตถ์ของสมเด็จครู จัดแสดง อาทิ ผลงานการออกแบบสถาปัตยกรรม ,การออกแบบพระเมรุมาศ – เมรุมาศ,การออกแบบตาลปัตร,การออกแบบบตัวอักษร – คัวหนังสือ,การออกแบบดวงตรา-เหรียญ และการออกแบบภาพประกอบ ซึ่งนำเสนอในรูปแบบสื่อดิจิตอล ประกอบเสียง
ระหว่างวันที่ 25 เมษายน – 6 พฤษภาคม พ.ศ.2556 ณ หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ
>>นิทรรศการผลงานการออกแบบของสมเด็จครู : พระอุโบสถ วัดพระปฐมเจดีย์
ระหว่างวันที่ 25 เมษายน – 6 พฤษภาคม พ.ศ.2556 ณ หอศิลป์สถาปัตยกรรมพระพรหมพิจิตร คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ
>>นิทรรศการภาพถ่ายนานาชาติ ครั้งที่ 9 หัวข้อ “เปลี่ยน” โดยนิทรรศการนี้ นำผลงานภาพถ่ายที่ได้รับรางวัลและได้รับคัดเลือกมาจัดแสดงจำนวน 120 ภาพ และนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณที่ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า พระราชทานภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ “ปูดิบ ปูสุก” เข้าร่วมแสดงในครั้งนี้ด้วย
ระหว่างวันที่ 25 เมษายน – 6 พฤษภาคม พ.ศ.2556 ณ หอศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ
>>เสวนาวิชาการ เรื่อง “ผลงานวาดเส้นฝีพระหัตถ์ของสมเด็จครู” โดยวิทยากร หม่อมราชวงศ์จักรรถ จิตรพงศ์ และศาสตาตจารย์ปรีชา เถาทอง
วันพฤหัสที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2556 เวลา 15.30 น. ณ ท้องพระโรง วังท่าพระ
>>การแสดงดนตรีไทยร่วมกับดนตรีสากลในบทเพลงพระนิพนธ์ ,การแสดงละครดึกดำบรรพ์ เรื่อง “คาวี” ตอน “เผาพระขรรค์” และการแสดงดนตรีไทย โดย กรมศิลปากร
ระหว่างเวลา 16.45 – 18.00 น. ณ สวนแก้ว มหาวิทยาลัยศิลปากร วังท่าพระ
>>นอกจากนี้ สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ร่วมกับ มูลนิธินริศรานุวัดติวงศ์
ขอเชิญร่วม ประมูลผลงานศิลปกรรมวันริศรานุวัดติวงศ์ ปี 2556 ณ ห้องวชิรญาณ 1 และห้องวชิรญาณ 2 หอสมุดแห่งชาติ วันที่ 30 เมษายน พ.ศ.2556 เวลา 14.00 น.
>> และ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ หอศิลป ถ.เจ้าฟ้า ได้รวบรวมเอาผลงานของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ รวมถึงงานของศิลปินท่านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับพระองค์มาจัดแสดงให้ชม เพื่อเป็นการระลึกถึง “นายช่างใหญ่แห่งกรุงสยาม”
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ (มีพระนามเดิม พระองค์เจ้าจิตรเจริญ เป็นพระราชโอรสของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระสัมพันธวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพรรณราย) ประสูติเมื่อวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2406 ทรงเป็นเสนาบดีถึง 4 กระทรวง ได้แก่ กระทรวงโยธาธิการ กระทรวงพระคลังมหาสมบัติ กระทรวงกลาโหม และกระทรวงวัง ทรงเป็นนักปราชญ์ทางอักษรศาสตร์ ประวัติศาสตร์ โบราณคดี และศิลปกรรมเกือบทุกแขนง ทั้งด้านจิตรกรรม ประติมากรรม สถาปัตยกรรม มัณฑนศิลป์ และดุริยางคศิลป์
พระองค์มิได้ทรงเป็นบุคคลสำคัญของชาติไทยเท่านั้น หากแต่ทรงเป็น “บุคคลสำคัญของโลก” ที่ได้รับการยกย่องจากองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) เมื่อครั้งทรงดำรงตำแหน่งองค์ปฐมเสนาบดีกระทรวงโยธาธิการ
ทรงวางรากฐานระบบงานโยธา ทรงวางระบบระเบียบงานช่างอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งงานโยธาในพระนครและหัวเมืองชนบท โดยเฉพาะการสร้างทางรถไฟสายสำคัญๆ การก่อสร้างถนน เช่น ถนนเยาวราช ถนนจักรวรรดิ และถนนราชวงศ์ ฯลฯ การก่อสร้างสะพาน เช่น สะพานผ่านพิภพลีลา สะพานผ่านฟ้าลีลาศ และสะพานมัฆวานรังสรรค์
นอกจากนี้ยังทรงงานออกแบบไว้มากมาย ทั้งงานภาพเขียนในวรรณคดี ตราสัญลักษณ์ตาลปัตร เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย ตลอดจนสถาปัตยกรรมที่รู้จักแพร่หลายในรูปแบบของถาวรวัตถุ ได้แก่ พระอุโบสถ วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม และรูปปั้นแม่พระธรณีบีบมวยผม เป็นต้น
ส่งข่าวสารงานศิลปะร่วมสมัย มาได้ที่ ข่าว ART EYE VIEW เซกชัน Celeb Online www.astvmanager.com และ Art Eye View เซกชัน Lite ในหนังสือพิมพ์ ASTV ผู้จัดการสุดสัปดาห์ Email: [email protected]
และคลิกเป็น แฟนเพจ ได้ที่ http://www.facebook.com/arteyeviewnews
Comments are closed.