กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ สนับสนุนภาคีเครือข่ายโครงการ “สูงวัยหัวใจยังเวิร์ก” เพื่อพัฒนาทักษะและเพิ่มโอกาสในการเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ส่งเสริมทักษะการใช้ชีวิตของผู้สูงอายุให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สร้างสรรค์และผลิตชิ้นงานที่สามารถนำไปใช้เป็นต้นแบบในการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาศักยภาพของผู้สูงอายุให้มีโอกาสในการสร้างอาชีพ และเป็นช่องทางในการสร้างพฤติกรรมเชิงบวกให้กับประชาชนทั่วไป ได้เข้าใจสภาพของสังคมผู้สูงวัยในมิติด้านคุณค่าส่วนบุคคลและเชิงเศรษฐกิจของสังคม ภายในงานจัดเสวนา “ผู้สูงวัยใช้สื่อออนไลน์อย่างไรให้เวิร์ก” โดยมี ดร. ธนกร ศรีสุขใส ผู้จัดการกองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ เป็นประธาน พร้อม Influencer สูงวัย จากโลกโซเชียล ได้แก่ ณัฐรดา สุขสุธรรมวงศ์, ทพ.สมชัย สุขสุธรรมวงศ์, ชุติมา แสนนนท์, กาญจนา สร้อยสิงห์, สุเทพ ประยูรพิทักษ์ ฯลฯ
พร้อมเวิร์กชอปพัฒนาทักษะและเพิ่มโอกาสในการเรียนรู้ในการสร้างแนวทางการใช้เทคโนโลยีทางดิจิทัล ณ แลนด์แล็บ ศูนย์การเรียนรู้ อ.ไทรน้อย จ.นนทบุรี
ดร.ธนกร ศรีสุขใส กล่าวว่า สังคมไทยกำลังเปลี่ยนผ่านเป็นสังคมสูงวัยโดยสมบูรณ์ และพบว่า ผู้ที่มีช่วงวัย 60-70 ปี และผู้จะก้าวสู่วัยผู้สูงอายุ ช่วงวัย 50-59 ปี มีการเข้าถึงและใช้งานอินเทอร์เน็ต วันละ 5-6 ครั้ง ครั้งละ 30 นาที-1 ชั่วโมง และเมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยระยะเวลาการใช้งานแต่ละวันพบว่า ใช้งานเฉลี่ยวันละ 2-3 ชั่วโมง สะท้อนให้เห็นว่าอินเทอร์เน็ตเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวัน ของทั้งสองกลุ่มวัย โดยเฉพาะ กลุ่มอายุ 45-50 ปี ที่กำลังจะก้าวสู่วัยผู้สูงอายุในอนาคต มีระยะเวลาใช้งานเฉลี่ยวันละ 4-5 ชั่วโมง
นอกจากนี้ ยังพบว่าการใช้งานอินเทอร์เน็ตมีความหลากหลาย ลักษณะประกอบด้วย การใช้สื่อสังคมออนไลน์ ได้แก่ ไลน์ เฟซบุ๊ก และยูทูบ โดยใช้สนทนาอ่านข่าวติดตามข่าวสารในระดับสูงมาก ดังนั้น มีมุมมองใหม่แตกต่างจากอดีต ที่มองว่าผู้สูงอายุมีความกังวล ไม่คุ้นเคย ไม่สามารถใช้เทคโนโลยีได้ มาเป็นภาพผู้สูงอายุที่ยอมรับเทคโนโลยี มีการใช้เทคโนโลยีในกิจกรรมการดำเนินชีวิตประจำวัน แสดงให้เห็นว่าสื่อออนไลน์เป็นส่วนหนึ่งของการดำรงชีวิต
กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ ถือว่า กลุ่มผู้สูงอายุหรือผู้สูงวัย เป็นกลุ่มเป้าหมายหลักที่สำคัญ จึงดำเนินโครงการเพื่อพัฒนาศักยภาพผู้สูงอายุต่อเนื่องทุกปี ล่าสุดภายใต้ชื่อ “สูงวัยหัวใจยังเวิร์ก” เพื่อพัฒนาทักษะและเพิ่มโอกาสในการเรียนรู้ในการสร้างแนวทางการใช้เทคโนโลยีทางดิจิทัล โดยเน้นกลุ่มเป้าหมาย ผู้สูงวัยอายุ 50 ปีขึ้นไป โดยมีแนวคิดหลัก ส่งเสริมผู้สูงวัยหัวใจดิจิทัล อัปสกิลทักษะออนไลน์ เรียนรู้แบบเข้าใจ ทำได้ ใช้เป็น ผ่านกลยุทธ์การสนับสนุน
พร้อมเปิดรับนักศึกษาตัวแทนเยาวชนที่เชี่ยวชาญเทคโนโลยี เพื่อเป็น “Digital Buddy” ของผู้สูงวัย เป็นหน่วยสนับสนุนร่วมบ่มเพาะจนเกิดต้นแบบที่เป็นองค์ความรู้กลับคืนสู่สังคม
นอกจากนี้ กิจกรรมในโครงการ มีเปิดอบรมและสร้างต้นแบบผู้สูงวัยที่มีความประสงค์จะใช้ทักษะทางดิจิทัลและสื่อออนไลน์เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิต ในวันที่ 12–14 ม.ค. 65 โดยจัดอบรมฟรี 4 หลักสูตร ได้แก่ ดิจิทัล D 101: YOLD Creator นักผลิตสื่อวัยเก๋า อบรมการผลิตสื่อสร้างสรรค์เพื่อลงบนแพลตฟอร์มออนไลน์ อาทิ ยูทูบ, เฟซบุ๊ก อบรมการถ่ายภาพ, การตัดต่อด้วยโทรศัพท์มือถือ, การพูดหน้ากล้องอย่างมั่นใจ, ดิจิทัล D102: YOLD Digital Marketer นักขายออนไลน์วัยเก๋าอบรมการ ตลาดออนไลน์ เฟซบุ๊ก, Tiktok, ดิจิทัล D 103: YOLD Online Tutor ครูออนไลน์วัยเก๋าการเปลี่ยนความรู้และทักษะให้เป็นรายการด้วยการสอนออนไลน์ และ ดิจิทัล D104: YOLD Digital Literacy รู้ทันสื่อดิจิทัล, ต่อต้านข่าวลวง ข่าวปลอม ติดตามรายละเอียดกิจกรรมได้ที่เฟสบุ๊กแฟนเพจสูงวัยหัวใจยังเวิร์ก
ผู้สูงวัยที่สนใจ ลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรมได้ที่ https://forms.gle/iMA6c262MZa2r5Hn6
นักศึกษาตัวแทนเยาวชนที่สนใจร่วมเป็น “Digital Buddy” ของผู้สูงวัย ลงทะเบียนได้ที่ https://forms.gle/FdFiEPGHKdKzCU5BA
Comments are closed.