Art Eye View

8 ศิลปินแห่งชาติ ปี 58

Pinterest LinkedIn Tumblr

กฤษฎา โรจนกร  สาขาทัศนศิลป์ (สถาปัตยกรรม)
ART EYE VIEW—วันนื้(23 ธ.ค.2558) ณ หอวชิราวุธานุสรณ์ หอสมุดแห่งชาติ เทเวศร์ กระทรวงวัฒนธรรม โดยกรมส่งเสริมวัฒนธรรม พลเอก ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร รองนายกรัฐมนตรี และประธานกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ ได้ทำการประกาศผลการคัดเลือกศิลปินแห่งชาติ พุทธศักราช 2558 
 
 
รายชื่อของศิลปิน 8 ท่าน ที่ถูกคัดเลือกให้เป็นศิลปินแห่งชาติ ใน 3 สาขา มีดังต่อไปนี้

สาขาทัศนศิลป์

กฤษฎา โรจนกร สาขาทัศนศิลป์ (สถาปัตยกรรม)
ศ.วิชัย สิทธิรัตน์ สาขาทัศนศิลป์ (ประติมากรรม)
ศ.เกียรติคุณเสริมศักดิ์ นาคบัว สาขาทัศนศิลป์ (การออกแบบอุตสาหกรรม)

สาขาวรรณศิลป์

ธีรภาพ โลหิตกุล สาขาวรรณศิลป์ (สารคดี)
ไพวรินทร์ ขาวงาม สาขาวรรณศิลป์(กวีนิพนธ์)

สาขาศิลปการแสดง

เวณิกา บุนนาค สาขาศิลปการแสดง (นาฏศิลป์ไทย)
เรือตรีสันติ ลุนแผ่ สาขาศิลปการแสดง (ดนตรีสากล)
สมบูรณ์สุข นิยมศิริ หรือ เปี๊ยก โปสเตอร์ สาขาศิลปการแสดง (ภาพยนตร์)

สำหรับผู้ที่ได้รับยกย่องเป็นศิลปินแห่งชาติ จะได้รับเงินตอบแทน เดือนละ 25,000 บาท และค่ารักษาพยาบาลตามระเบียบราชการ รวมทั้งมีค่าช่วยเหลือเมื่อประสบสาธารณภัย ครั้งละไม่เกิน 50,000 บาท และหากเสียชีวิตจะมีค่าช่วยเหลืองานบำเพ็ญกุศลศพ 20,000 บาท เงินช่วยเหลือค่าจัดทำหนังสือเผยแพร่ผลงานเมื่อเสียชีวิตไม่เกิน 150,000 บาท เป็นต้น

ศิลปินแห่งชาติ พุทธศักราช 2558 ที่ได้รับการประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติ จะเข้ารับพระราชทานโล่และเข็มเชิดชูเกียรติจาก สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2558 ซึ่งตรงกับ “วันศิลปินแห่งชาติ” และในวันดังกล่าวจะมีงานเลี้ยงแสดงความยินดีแก่ศิลปินแห่งชาติ พร้อมกิจกรรมการแสดงและนิทรรศการศิลปินแห่งชาติ พุทธศักราช 2558 ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทยด้วย โดยประชาชนผู้สนใจสามารถเข้าร่วมกิจกรรมได้ โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

นับตั้งแต่เริ่มโครงการศิลปินแห่งชาติมาเมื่อปี พ.ศ. 2527 และประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติศิลปินแห่งชาติในปีแรกเมื่อ พ.ศ. 2528 – 2558 มีศิลปินสาขาต่างๆ ที่ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติเป็นศิลปินแห่งชาติแล้วรวม 266 คน เสียชีวิตไปแล้ว 117 คน มีชีวิตอยู่ 149 คน
ศ.วิชัย สิทธิรัตน์  สาขาทัศนศิลป์ (ประติมากรรม)
ศ.เกียรติคุณเสริมศักดิ์ นาคบัว สาขาทัศนศิลป์ (การออกแบบอุตสาหกรรม)
นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม รองประธานกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ (กวช.) เปิดเผยถึงเกณฑ์การคัดเลือกศิลปินแห่งชาติ ประกอบด้วย 3 หลักเกณฑ์ใหญ่ ดังนี้

เกณฑ์ที่ 1. คุณสมบัติของศิลปินแห่งชาติ ซึ่งมี 6 ประการ ได้แก่ เป็นผู้มีสัญชาติไทยและยังมีชีวิตอยู่ในวันประกาศยกย่อง / เป็นผู้มีความรู้ความสามารถ มีความเชี่ยวชาญ และมีผลงานดีเด่นเป็นที่ยอมรับของวงการศิลปะในสาขานั้น / เป็นผู้สร้างสรรค์และพัฒนาศิลปะในสาขาที่ได้รับการประกาศยกย่อง / เป็นผู้ผดุง ถ่ายทอด เผยแพร่ หรือเป็นต้นแบบศิลปะในสาขาที่ได้รับการประกาศยกย่อง / เป็นผู้มีคุณธรรม ทุ่มเท และเสียสละเพื่องานศิลปะ / และเป็นผู้มีผลงานที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมและมนุษยชาติ

เกณฑ์ที่ 2. คุณค่ามาตรฐานผลงานศิลปะของศิลปินแห่งชาติ ผลงานต้องสื่อให้เห็นถึงคุณค่าในความดี ความจริง ความงาม อารมณ์ และคุณค่าทางจิตวิญญาณ แสดงออกถึงแนวคิด สร้างพลังความรู้และพัฒนาสติปัญญาแก่มนุษยชาติ ก่อให้เกิดความรู้สึกสะเทือนอารมณ์ และส่งเสริมจินตนาการ และเป็นผลงานสร้างสรรค์มีเอกลักษณ์ มีทักษะสูงส่ง มีกลวิธีเชิงสร้างสรรค์ ไม่แสดงเจตนาหรือจงใจคัดลอกหรือเลียนแบบผลงานของผู้อื่นทั้งเปิดเผยและแอบแฝง

เกณฑ์ที่ 3. การเผยแพร่และการยอมรับคุณค่าผลงานของศิลปินแห่งชาติ ผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อเป็นศิลปินแห่งชาติ จะต้องมีการเผยแพร่ผลงานและได้รับการยอมรับ คุณค่าในผลงาน ดังนี้ เป็นผลงานที่ได้รับการจัดแสดง ถ่ายทอดหรือเผยแพร่ต่อสาธารณชนอย่างต่อเนื่อง มีหลักฐาน อ้างอิง โดยเป็นผลงานที่แสดงให้เห็นถึงแนวคิด พัฒนาการทางงานศิลปะอย่างเด่นชัด และเป็นผลงานได้รับรางวัล หรือเกียรติคุณระดับภูมิภาค ระดับชาติ หรือระดับนานาชาติ ซึ่งมีกระบวนการพิจารณาที่มีมาตรฐานและเป็นที่ยอมรับ

ซึ่งการคัดเลือกศิลปินแห่งชาติ จะทำการคัดเลือกใน 3 สาขา ได้แก่

1.สาขาทัศนศิลป์ หมายถึง ศิลปะที่มองเห็นได้ด้วยตา แบ่งเป็น วิจิตรศิลป์ และประยุกต์ศิลป์ วิจิตรศิลป์ ได้แก่ จิตรกรรม ประติมากรรม ภาพพิมพ์ สื่อผสม และภาพถ่าย ส่วนประยุกต์ศิลป์ ได้แก่ สถาปัตยกรรมแบบประเพณีและร่วมสมัย / มัณฑศิลป์ / การออกแบบผังเมือง / การออกแบบอุตสาหกรรม และประณีตศิลป์ เป็นต้น

2.สาขาวรรณศิลป์ หมายถึง บทประพันธ์ที่แต่งอย่างมีศิลปะทั้งร้อยแก้วและร้อยกรอง มีองค์ประกอบที่สำคัญคือ ความรู้สึกสะเทือนใจ ความคิดสร้างสรรค์ จินตนาการและกลวิธีเสนอเรื่องที่น่าสนใจ

3. สาขาศิลปะการแสดง หมายถึง ศิลปะที่มีการแสดง ซึ่งเป็นได้ทั้งวิจิตรศิลป์ ประยุกต์ศิลป์ รวมทั้งศิลปะพื้นบ้าน ได้แก่ การแสดง ดนตรี และการแสดงพื้นบ้าน โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้ 3.1 ดนตรีไทยและนาฏศิลป์ไทย 3.2 ดนตรีสากลและนาฏศิลป์สากล 3.3 ภาพยนตร์และละคร
ธีรภาพ โลหิตกุล สาขาวรรณศิลป์ (สารคดี)
ไพวรินทร์ ขาวงาม สาขาวรรณศิลป์(กวีนิพนธ์)
เวณิกา บุนนาค สาขาศิลปการแสดง (นาฏศิลป์ไทย)
เรือตรีสันติ ลุนแผ่  สาขาศิลปการแสดง (ดนตรีสากล)
สมบูรณ์สุข นิยมศิริ  หรือ เปี๊ยก โปสเตอร์  สาขาศิลปการแสดง (ภาพยนตร์)
ส่งข่าวสารงานศิลปะร่วมสมัย มาได้ที่ ข่าว ART EYE VIEW ของ www.astvmanager.com และ ART EYE VIEW เซกชัน Lite ในหนังสือพิมพ์ ASTV ผู้จัดการสุดสัปดาห์ Email: [email protected]

และคลิกเป็น แฟนเพจ ได้ที่ http://www.facebook.com/arteyeviewnews

Comments are closed.

Pin It